พุยพุย

วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2559

นวัตกรรมการสอนแบบโครงการ Project Approach

Project Approach
การสอนแบบโครงการ



ที่มา

     การสอนแบบโครงการได้เริ่มในประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นความคิดริเริ่มของ William Heard Kilpatrick ซึ่งพัฒนามาจากแนวคิดของ John Dewey ที่สนับสนุนให้สร้างประสบการณ์ทางการศึกษาให้เด็กเกิดความตระหนัก การนำมาประยุกต์ สอนเด็กถึงวิธีการใช้โครงการที่เกี่ยวกับประสบการณ์จริงให้เป็นรากฐานสำคัญของการศึกษา

หลักการ

     การสอนแบบโครงการ Project Approach  มีหลักสำคัญ คือ การพัฒนาเด็กด้วยการให้เด็กเป็นผู้รู้จักแสวงหาความรู้ ความร่วมมือรวมถึงการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เพื่อค้นหาคำตอบในเรื่องที่ตนเองสนใจ ซึ่งการสอนแบบโครงการได้นำแนวคิดของ John Dewey มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนอีกด้วย




การสอนแบบโครงการคืออะไร ??  

     การสอนแบบโครงการ คือ การเรียนการสอนที่ให้ความสำคัญกับตัวเด็ก เรียนในเรื่องที่เด็กสนใจ ส่งเสริมให้เด็กแสวงหาคำตอบด้วยตนเองอย่างลุ่มลึก เพื่อสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง การเรียนการสอนแบบโครงการจะเน้นให้เด็กเป็นผู้กระทำด้วยตนเอง ลงมือกระทำสิ่งต่างๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และการค้นหาคำตอบ โดยมีครูผู้สอนเป็นผู้อำนวยความสะดวกและให้ความรู้กับเด็กจากประสบการณ์ตรงและจากแหล่งการเรียนรู้


ลักษณะของการสอนแบบโครงการ

  1. การสอนแบบอภิปราย
  2. การนำเสนอประสบการณ์เดิม
  3. การทำงานภาคสนาม
  4. การสืบค้น
  5. การจัดแสดง

วิธีการจัดการเรียนการสอน 

     แบ่งเป็น 4 ระยะ คือ    
  • ระยะที่ 1 เริ่มต้นโครงการ
         เป็นขั้นที่ให้เด็กและครูร่วมกันอภิปรายเพื่อเลือกหัวข้อที่จะทำการศึกษา โดยเรื่องที่เลือกต้องมาจากความสนใจของตัวเอง โดยหัวข้อที่จะทำการศึกษาต้องมาจากความสนใจของเด็ก สามารถบูรณาการได้กับทุกวิชาไม่ว่าจะเป็น วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาและศิลปะ และ เรื่องที่จะทำการศึกษาต้องสามารถทำให้เด็กมีการทำงานร่วมกัน ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองได้
        เมื่อได้เรื่องที่เด็กต้องการ ให้เด็กๆ นำเสนอประสบการณ์เดิมของเด็กเกี่ยวกับเรื่องที่จะเรียน ข้อสงสัยต่างๆ สิ่งที่ตนเองอยากรู้

  • ระยะที่ 2 วางแผนโครงการ
         เป็นช่วงเวลาในการกำหนดวัตถุประสงค์ ขอบเขตเนื้อหา และ ระยะในการศึกษาค้นคว้า
  • ระยะที่ 3 ดำเนินโครงการทำที่กำหนดไว้ 
         เป็นขั้นตอนของการดำเนินโครงการตามแผนที่กำหนด  ที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหา เด็กจะได้รับข้อมูลใหม่จากประสบการณ์การตรงหรือแหล่งข้อมูลพื้นฐานที่ได้จากการสนทนา พูดคุยกับผู้รู้ และสืบค้นจากแหล่งการเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นของจริง หนังสือ หรือ วัสดุต่างๆ รวมไปถึงการออกนอกสถานที่เพื่อไปศึกษาหาความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ วิทยากรท้องถิ่น เพื่อให้เด็กทำการสืบค้นสังเกต ให้เด็กลงมือปฏิบัติด้วยตนเองผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 โดยมีครูคอยให้คำแนะนำและคอยดูแลอย่างใกล้ชิด
  • ระยะที่ 4  สรุปผลโครงการ
         เป็นขั้นตอนสุดท้ายเพื่อปิด Project ครูอาจจะจัดนิทรรศการภายในห้องเกี่ยวกับเรื่องที่เราทำมาตลอดทั้งสัปดาห์ มีการแบ่งหน้าที่เด็กทุกคนให้มีส่วนร่วมในการนำเสนอ ไม่ว่าจะเป็นการนำเสนอในรูปแบบต่างๆ เช่น การเล่านิทาน การแสดง การอภิปราย ซึ่งตรงส่วนนี้เป็นหน้าที่ของเด็กในการนำเสนอ ขั้นตอนนี้ถือว่าเป็นการทบทวนการปฏิบัติ ทบวนความรู้ตลอดโครงการที่เรียนมา โดยการจัดนิทรรศการนี้จะมี พ่อแม่ ผู้ปกครอง และผู้บริหาร มาเป็นผู้รับฟังความรู้ต่างๆ ของเด็กที่ได้ศึกษามา ซึ่งจะทำให้ พ่อแม่ ผู้ปกครอง ตลอดจนผู้บริหาร ได้เห็นถึงความสามารถของเด็กอีกด้วย
     

ระยะเวลาในการสอนแบบโครงการ

  •  1-4 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับเนื้อหาของการเรียนการสอน

ประโยชน์การสอนแบบโครงการ 

  • ดิฉันคิดว่า การสอนแบบโครงการส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ด้วยตนเอง ตามหัวข้อเรื่องที่ตนเองสนใจ อย่างมีความสุข สนุกสาน ส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ด้วยตนเอง การทำงานอย่างมีแบบแผน มีโอกาสที่จะประยุกต์ใช้ทักษะที่มีอยู่ เกิดแรงจูงใจภายในและความสามารถที่เกิดจากตัวเด็กในการทำกิจกรรม สร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียน ชุมชน และผู้ปกครอง เนื่องจาการสอนแบบโครงการ พ่อแม่ ผู้ปกครอง ชุมชน จะต้องร่วมมือกับครูสนับสนุนการเรียนรู้ของเด็ก 

การนำไปประยุกต์ใช้  

  •  การสอนแบบ Project Approach เป็นการสอนที่เหมาะสำหรับเด็กปฐมวัยเป็นอย่างมาก เพราะ การสอนแบบ Project Approach นั้นเป็นการสอนให้เด็กได้เรียนรู้อย่างลุ่มลึกในเรื่องนั้นๆ ในฐานะที่เราเป็นครูผู้สอน เราควรเลือกเรื่องที่เด็กนั้นสนใจจริงๆ แต่เรื่องที่เด็กเลือกควรเป็นเรื่องที่สามารถมาประยุกต์ใช้ในรายวิชาอื่นๆได้ หรือ นำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ เมื่อได้เรื่องที่เด็กสนใจ ครูก็ดำเนินการตามขั้นตอนการสอนของ Project Approach และครูควรปล่อยให้เด็กได้ทำกิจกรรมอย่างเต็มที่ ปล่อยให้เด็กมีการเรียนรู้ด้วยตนเอง ถึงแม้ว่าเด็กจะมีความรู้จากประสบการณ์เดิมแล้วก็ตาม  โดยครูนั้นต้องเป็นผู้อำนวยความสะดวก และคอยให้ความรู้เพิ่มเติมแก่เด็กอยู่ตลอดเวลา

ตัวอย่างการสอนแบบโครงการ 

  • โรงเรียนเกษมพิทยา